ข้อมูลทั่วไป
 
ประวัติความเป็นมา วิสัยทัศน์/พันธกิจ ตราสัญลักษณ์


  • จากการบอกเล่าสืบทอดกันมาจากผู้เฒ่าผู้แก่ และจากบันทึกของนายเพียร นะมาตร์ ในสมัยก่อนที่จะย้ายตำบลคูขุดมาตั้ง ณ บ้านคูขุด ในอดีตตำบลคูขุดตั้งอยู่ ณ บ้านดอนมดคัน ยกฐานะเป็นตำบลดอนมดคัน ทางอำเภอได้แต่งตั้ง นายแคล้ว (ขุนชำนาญพิธ) สิทธิเสนา เป็นกำนันคนแรกกำนันคนต่อมาคือ นายพ่าย พานิชกรณ์

    สมัยก่อน บ้านคูขุดเดิมอยู่ที่หนองหลุก มีชาวบ้านตั้งครอบครัว ประมาณ ๑๐๐ ครอบครัว มีทางน้ำไหลจากหนองหลุก ไปทางทิศใต้ของวัด ไหลลงสู่ทะเลสาบ ชาวบ้านเรียกว่า คูผุด ต่อมาเพี้ยนเป็นคูขุด จนถึงปัจจุบัน

    ในปี ๒๔๓๗ มีการย้ายที่ตั้งตำบล จากตำบลดอนมดคัน เปลี่ยนเป็นตำบลคูขุด บ้านคูขุดได้ยกฐานะเป็นตำบล มีขุนภักดี ดำรงฤทธิ์ ซึ่งเป็นคนไทยที่นับถือศาสนาอิสลาม เป็นกำนันคนแรก เมื่อขุนภักดีดำรงฤทธิ์ ถึงแก่กรรมลง ลูกชาย คือ หมื่นอนุกิจจาการี ได้รับการแต่งตั้งสืบมา เมื่อหมื่นอนุกิจจาการี ถึงแก่กรรม นายนิยม สุระคำแหง ต่อด้วยนายพลอย ชูสวัสดิ์ ซึ่งเป็นคนไทยที่นับถือศาสนาพุทธ ได้รับการคัดเลือกให้เป็นกำนัน กำนันคนต่อมาคือ นายวิชิต (ฮ้อง) สุวรรณรัศมี ต่อด้วยนายสมพงศ์ หนูสง เมื่อกำนันสมพงศ์ หนูสง ได้รับเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบลคูขุด นายธีระชัย พานิช จึงได้รับเลือกตั้งเป็นกำนันตำบลคูขุดแทน ต่อมาคือนายชัยยุทธ มากสอน ส่วนกำนันคนปัจจุบัน คือ นายธีระชัย พานิช ซึ่งได้รับเลือกตั้งอีกครั้งหนึ่ง

    ทำเนียบนายกองค์การบริหารส่วนตำบลคูขุด

    1. นายสมพงศ์ หนูสง ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ.2540 – พ.ศ.2544
    2. นายพร้อม แก้วแดง ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ.2544 – พ.ศ.2548
    3. นายสมพงศ์ หนูสง ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ.2548 – พ.ศ.2556 (2 สมัย)
    4. นายเจษฎา นิยมเดชา ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ.2556 – ปัจจุบัน
    5. นายสมพงศ์ หนูสง ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ.2564 – ปัจจุบัน

  • “ ชุมชนเข้มแข็ง แหล่งท่องเที่ยวสวยงาม ตามรอยเศรษฐกิจพอเพียง "


    ยุทธศาสตร์การพัฒนา

    1 การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน
    2 การพัฒนาด้านสังคม
    3 การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ
    4 การพัฒนาด้านการเมืองการบริหาร
    5 การพัฒนาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    6 การพัฒนาด้านการท่องเที่ยว

    พันธกิจ

    1. พัฒนาการคมนาคม การประปา การโทรคมนาคม ไฟฟ้าสว่าง ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน
    2. พัฒนาน้ำกินน้ำใช้ น้ำอุปโภคบริโภค และแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร
    3. พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส
    4. ส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจด้านสาธารณสุขมูลฐาน
    5. ส่งเสริมการกีฬาเยาวชน ประชาชนให้มีสุขภาพแข็งแรงเพื่อห่างไกลยาเสพติด
    6. ส่งเสริมบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น
    7. พัฒนาส่งเสริมอาชีพด้านการเกษตร กลุ่มอาชีพต่าง ๆ
    8. นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ให้สอดคล้องกับพื้นที่
    9. พัฒนารายได้และใช้เทคโนโลยีและวิชาการใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาการประกอบอาชีพ
    10. ส่งเสริมอบรมให้ความรู้ความเข้าใจการเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
    11. ช่องทางในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชนเพิ่มขึ้น
    12. พัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สร้างจิตสำนึกให้ประชาชนรู้จักอนุรักษ์ส่งเสริมทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    13. พัฒนาแหล่งท่องเที่ยว

    เป้าประสงค์

    1. ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานได้มาตรฐานมีความสะดวกและรวดเร็ว
    2. มีน้ำกินน้ำใช้ น้ำอุปโภคบริโภค และแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรไม่ขาด
    3. พัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนในทุก ๆ ด้าน
    4. ส่งเสริมสนับสนุนด้านการศึกษา
    5. ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมทางด้านศาสนา ประเพณีและศิลปวัฒนธรรม
    6. ส่งเสริมอาชีพ เศรษฐกิจ ประชาชนให้มีรายได้เพิ่มขึ้น
    7. เพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้สามารถบริการประชาชนได้อย่างรวดเร็ว และทั่วถึง โดยยึดหลักการบริการจัดการที่ดี
    8. อนุรักษ์ ฟื้นฟูและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    9. ส่งเสริมสนับสนุนแหล่งท่องเที่ยว เพื่อเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยว