๑. ยุทธศาสตร์ขององค์การบริหารส่วนตำบลคูขุด ๑.๑ วิสัยทัศน์ “ชุมชนเข้มแข็ง แหล่งท่องเที่ยวสวยงาม ตามรอยเศรษฐกิจพอเพียง” ๑.๒ ยุทธศาสตร์ ยุทธศาสตร์ที่ ๑ การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน ยุทธศาสตร์ที่ ๒ การพัฒนาด้านสังคม ยุทธศาสตร์ที่ ๓ การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ ยุทธศาสตร์ที่ ๔ การพัฒนาด้านการเมืองการบริหาร ยุทธศาสตร์ที่ ๕ การพัฒนาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยุทธศาสตร์ที่ ๖ การพัฒนาด้านการท่องเที่ยว ๑.๓ เป้าประสงค์ ๑. ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานได้มาตรฐานมีความสะดวกและรวดเร็ว ๒. มีน้ำกินน้ำใช้ น้ำอุปโภคบริโภค และแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรไม่ขาด ๓. พัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนในทุก ๆ ด้าน ๔. ส่งเสริมสนับสนุนด้านการศึกษา ๕. ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมทางด้านศาสนา ประเพณีและศิลปวัฒนธรรม ๖. ส่งเสริมอาชีพ เศรษฐกิจ ประชาชนให้มีรายได้เพิ่มขึ้น ๗. เพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้สามารถบริการประชาชนได้อย่าง รวดเร็ว และทั่วถึง โดยยึดหลักการบริการจัดการที่ดี ๘. อนุรักษ์ ฟื้นฟูและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ๙. ส่งเสริมสนับสนุนแหล่งท่องเที่ยว เพื่อเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยว ๑.๔ ตัวชี้วัด ๑. กลุ่มเกษตรกรและกลุ่มอาชีพมีความเข้มแข็งขึ้น ๒. เด็ก สตรี คนชรา คนพิการ และผู้ด้อยโอกาสมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ๓. เส้นทางคมนาคมมีมาตรฐาน ๔. แหล่งน้ำอุปโภคบริโภคได้รับการปรับปรุงอย่างมีประสิทธิภาพ ๕. ประชาชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ/สิ่งแวดล้อมครัวเรือนที่ได้รับการกำจัดขยะมูลฝอยอย่างถูก สุขลักษณะ ๖. ส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวที่มีอยู่ในตำบลให้สามารถท่องเที่ยวได้ตลอดปี ๗. ส่งเสริมให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ได้มาตรฐาน ๘. ประชาชน สืบทอด ฟื้นฟู อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี แหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คงอยู่สืบไป ๙. มีการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลอย่างมีประสิทธิภาพ ๑๐. ประชาชนมีส่วนร่วมเสนอแนวทางแก้ปัญหาในท้องถิ่น ๑.๕ ค่าเป้าหมาย ๑. มีถนนที่ได้มาตรฐาน สะดวก ปลอดภัย เพิ่มขึ้น ๒. มีไฟฟ้า ประปาใช้ ทุกครัวเรือน ๓. ประชาชนได้รับการแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย ๔. ประชาชนได้แสดงความคิดเห็นในการพัฒนาท้องถิ่น ๕. ประชาชนมีงานทำและมีรายได้เพิ่ม ๖. ประชาชนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ๗. คนชรา คนพิการ ได้รับสวัสดิการทุกคน ๘. ได้สืบสานขนบธรรมเนียม ประเพณี ท้องถิ่น ๑.๖ กลยุทธ์ ๑. พัฒนาการคมนาคม การประปา การโทรคมนาคม ไฟฟ้าสว่าง ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน ๒. พัฒนาน้ำกินน้ำใช้ น้ำอุปโภคบริโภค และแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร ๓. พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาส ๔. ส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจด้านสาธารณสุขมูลฐาน ๕. ส่งเสริมการกีฬาเยาวชน ประชาชนให้มีสุขภาพแข็งแรงเพื่อห่างไกลยาเสพติด ๖. ส่งเสริมบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น ๗. พัฒนาส่งเสริมอาชีพด้านการเกษตร กลุ่มอาชีพต่าง ๆ ๘. นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ให้สอดคล้องกับพื้นที่ ๙. พัฒนารายได้และใช้เทคโนโลยีและวิชาการใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาการประกอบอาชีพ ๑๐. ส่งเสริมอบรมให้ความรู้ความเข้าใจการเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ๑๑. ช่องทางในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชนเพิ่มขึ้น ๑๒. พัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สร้างจิตสำนึกให้ประชาชนรู้จักอนุรักษ์ ส่งเสริมทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ง แวดล้อม ๑๓. พัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ๑.๗ จุดยืนทางยุทธศาสตร์ ๑ การพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่มีความเข้มแข็ง โดยได้รับบริการสาธารณะด้านโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นเพื่อรองรับการขยายตัวของชุมชนและเศรษฐกิจ ๒ การพัฒนาระบบการศึกษาและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ๓ ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพคนและความเข้มแข็งของชุมชนในการพึ่งตนเอง ๔ การกำจัดขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูลและมลภาวะสิ่งแวดล้อมที่มีอย่างยั่งยืน ๕ การพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐที่ดีและมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ๒. การวิเคราะห์เพื่อพัฒนาท้องถิ่น ๒.๑ การวิเคราะห์กรอบการจัดทำยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผลการวิเคราะห์ศักยภาพเพื่อประเมินสถานภาพการพัฒนา ในภาพรวมของตำบลคูขุด เพื่อประเมินสถานภาพการพัฒนาในปัจจุบันและโอกาสการพัฒนาในอนาคตขององค์การบริหารส่วนตำบลคูขุดด้วย เทคนิค SWOT Analysis (จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค) (๑) จุดอ่อน (Weaknesses=W) ๑.๑ ด้านการท่องเที่ยว - มีต้นทุนด้านสถานที่ท่องเที่ยวแต่ยังขาดการประชาสัมพันธ์ - สถานที่ท่องเที่ยวขาดสิ่งอำนวยความสะดวกบริการแก่นักท่องเที่ยว - สถานที่ท่องเที่ยวขาดการจัดการให้เป็นระเบียบ สวยงาม ๑.๒ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน - ถนนและเส้นทางคมนาคมที่ได้มาตรฐานยังไม่ครอบคลุมพื้นที่ - ไฟฟ้าสาธารณะยังไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ - ทางระบายน้ำที่ไม่ได้มาตรฐานและไม่ครอบคลุมพื้นที่ - สะพาน คสล.ที่ได้มาตรฐานยังไม่ครอบคลุมพื้นที่ - สัญญาณการป้องกันภัยทางถนนหรือป้ายบังคับจราจร ยังมีน้อยเกินไป - ประชาชนยังขาดน้ำที่มีคุณภาพเพื่อการอุปโภคบริโภค ๑.๓ ด้านเศรษฐกิจ - การส่งเสริมอาชีพแก่ประชาชนขาดความรวมกลุ่มอย่างจริงจัง - ขาดความรู้ในการประกอบอาชีพเสริมและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ - ตลาดรองรับสินค้ามีน้อย - ขาดเงินทุนสนับสนุน ๑.๔ ด้านการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม - เด็ก เยาวชนบางส่วน ไม่ให้ความสนใจในการศึกษาขั้นพื้นฐาน - ขาดการส่งเสริม สนับสนุนการศึกษาจริยธรรมของเด็กเยาวชน และประเพณี - งบประมาณสนับสนุนจำกัด ๑.๕ ด้านสาธารณสุข - ขาดสถานที่ออกกำลังกาย - การกำจัดขยะไม่ถูกสุขลักษณะ - ประชาชนขาดความรู้เรื่องด้านโภชนาการ การใช้ชีวิตถูกสุขลักษณะ - ผู้สูงอายุมีปัญหาด้านสุขภาพ ๑.๖ ด้านการพัฒนาคนและสังคม - เด็กเยาวชน ขาดความรู้เรื่องยาเสพติด - สวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุมีงบประมาณจำกัด - การมีส่วนร่วมของประชาชนมีน้อย ๑.๗ ด้านการเมือง การบริหารจัดการ - ขาดการมีส่วนร่วมทางการเมือง - ความเข้มแข็งขององค์กรภาคเอกชน - ความเข้าใจระบบกฎหมายของประชาชน - การกระจายข่าวสารและประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ ภายในตำบลไม่ทั่วถึง ๑.๘ ด้านสาธารณูปโภค - แหล่งน้ำธรรมชาติ หรือที่มีอยู่เดิม ตื้นเขิน ๑.๙ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม - จิตสำนึกกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ๑.๑๐ ปัญหาด้านการเกษตร - ขาดการรวมกลุ่มที่เข้มแข็งทางการประกอบอาชีพเกษตร - ผลผลิตทางการเกษตรราคาต่ำ - แหล่งน้ำทางเกษตรไม่เพียงพอ - ขาดเครื่องมืออุปกรณ์ในการทำการเกษตรที่ทันสมัย (๒) จุดแข็ง (Strengths=S) คือ ศักยภาพความสามารถหรือข้อเด่นเมื่อเทียบกับ ตำบลอื่น ๑. มีพ่อท่านจันทร์ อดีตเจ้าอาวาสวัดแหลมวัง ที่เป็นที่เคารพนับถือของคนทั้งในและนอกตำบล ๒. มีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ เป็นที่รู้จักของคนทั้งในและต่างจังหวัด คือ อุทยานนกน้ำคูขุด ๓. มีทรัพยากรทางธรรมชาติที่หลากหลาย ทั้งในทะเลสาบสงขลา และพืชเศรษฐกิจที่ทำรายได้แก่ชุมชน คือ ต้นตาลโตนด ๔. ประชาชนประกอบอาชีพที่หลากหลาย ได้แก่ ทำนา ประมง และผลิตผลจากตาลโตนด ๕. มีแพปลาชุมชน เป็นจุดรับซื้อปลาจากชาวประมง ๖. เป็นชุมชนที่มีวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม มีความเอื้ออาทร เป็นสังคมเครือญาติ ๗. ทุนทางสังคมมีมาก เช่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น การศึกษา ปราชญ์ชาวบ้าน ๘. มีองค์กรภาคประชาชนเข้มแข็งเชื่อมโยงทุกพื้นที่ ๙. มีความหลากหลายทางศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณี สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข ๑๐. มีผลิตภัณฑ์ชุมชนที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน ๑๑. กลุ่มองค์กรและ กลุ่มอาชีพ OTOP ที่เข้มแข็ง สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้และศึกษาดูงานได้ ๓ การประเมินสถานการณ์สภาพแวดล้อมภายนอกที่เกี่ยวข้อง (๑ ) โอกาส (Opportunists=O) ๑. มีแหล่งท่องเที่ยว คือ อุทยานนกน้ำคูขุด และทะเลสาบสงขลา ๒. มีพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านเรินดอนคัน (เก็บรวบรวมเครื่องมือเครื่องใช้ในการประกอบอาชีพคนของตำบลคูขุดในสมัยอดีต) ๓. มีการทำการเกษตรแบบเกษตรอินทรีย์ ที่สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ได้ ๔. มีกองทุนต่างๆ ในชุมชนจำนวนมาก ๕. มีองค์กรภาครัฐภาคเอกชน และภาคีการพัฒนาให้การสนับสนุนหลายหน่วยงาน ทั้งทางด้านวิชาการ และเงินทุน ๖. นโยบายรัฐบาลส่งเสริมอาชีพที่เกิดจากความต้องการของคนในชุมชน ๗. องค์การบริหารส่วนตำบลให้การสนับสนุนร่วมแก้ไขปัญหาชุมชน (๒) อุปสรรค (Threats=T) ๑. ผลผลิตทางการเกษตรมีอยู่มากที่คุณภาพไม่ได้มาตรฐาน ระเบียบ กฎหมาย ไม่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนา การท่องเที่ยว ๒. การจัดสรรงบประมาณจากส่วนกลางยังมีการจัดสรรให้โดยไม่ตรงกับความต้องการการพัฒนา ๓. การเกิดภัยธรรมชาติ ส่งผลกระทบต่อการประกอบอาชีพโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการเกษตรกรรม ๔. ราคาผลผลิตด้านการเกษตรยังขึ้นอยู่กับพ่อค้าคนกลาง ๕. ปัญหายาเสพติด ๖. ปัญหาสิ่งปฏิกูลของหมู่บ้าน มีมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม ๗. เด็ก เยาวชน บางกลุ่มไม่ให้ความสำคัญด้านการศึกษา |
|