นโยบาย
  นโยบายของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลคูขุด

 1.  นโยบายด้านการเมืองและการบริหาร

          การพัฒนาการเมืองการบริหาร  เพื่อให้บรรลุตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ   แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ที่ได้ให้ความสำคัญกับการกระจายอำนาจการปกครอง สู่ท้องถิ่น ให้ความเป็นอิสระแก่ท้องถิ่น ในการกำหนดนโยบาย การบริหาร การเงิน การคลัง     การบริหารงานบุคคล  ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติตามภารกิจที่เพิ่มขึ้นขององค์การบริหารส่วนตำบล  ตลอดจนการเสริมสร้างจิตสำนึกของพนักงาน เจ้าหน้าที่ และลูกจ้างในการบริการประชาชน ให้ได้รับความสะดวก รวดเร็วและเกิดความพึงพอใจ ดังนี้

        1.1 พัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลคูขุด ให้เป็นองค์กรธรรมาภิบาล ที่มีหลักการบริหารจัดการตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี  และเป็นหน่วยบริการสังคมที่ดี มีมาตรฐานด้วยการส่งเสริม สร้างความร่วมมือ ประสานงานกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง สร้างกระบวนการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาศักยภาพและยกระดับแก่สมาชิกสภาท้องถิ่น  ข้าราชการ  พนักงานและลูกจ้าง  ซึ่งเป็นทรัพยากรบุคคลอันสำคัญของตำบลคูขุด พร้อมทั้งสร้างเสริมกระบวนการพัฒนาระบบ การบริการสาธารณะที่ดีมีมาตรฐาน สร้างความสะดวก ลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน สร้างบุคลากรให้มีคุณภาพและมีจิตสำนึกในการให้บริการ    เพื่อรองรับการบริการแต่ละด้านให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน

        1.2 ส่งเสริมสนับสนุนการขับเคลื่อนองค์กรชุมชนและคณะกรรมการชุมชนที่ดำเนินกิจกรรม และโครงการต่างๆโดยชุมชนและเพื่อชุมชน รวมทั้งการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน  เพื่อพัฒนายกระดับการขับเคลื่อนไปสู่ทิศทางของเมืองน่าอยู่ชุมชนน่าอยู่อย่างยั่งยืน

        1.3 ส่งเสริมสนับสนุนการประสานงานเพื่อก่อให้เกิดการสร้างเครือข่ายการทำงานทั้งภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ และพื้นที่อื่นๆ ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง รวมถึงภาคเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน

        1.4 เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บและพัฒนารายได้ให้มีความทั่วถึง  เป็นธรรม  รับฟังความคิดเห็นจากประชาชนตามครรลองระบอบประชาธิปไตย  ตั้งแต่เริ่มกระบวนการ  ร่วมคิด ร่วมคิด ร่วมตรวจสอบ โปร่งใสและปฏิบัติงานอย่างมีระบบ

        1.5 สร้างแรงจูงใจและเพิ่มขวัญและกำลังใจให้ข้าราชการและผู้ปฏิบัติงานขององค์การบริหารส่วนตำบลคูขุดที่ปฏิบัติงานด้วยความทุ่มเท  เสียสละผลการปฏิบัติงานดีเด่นและเป็นที่ยอมรับ

 2.  นโยบายด้านการพัฒนาสังคม

          พัฒนาศักยภาพของประชาชนในตำบล  ทั้งในด้านการศึกษา สาธารณสุข และการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ดังนี้

           2.1 รณรงค์ส่งเสริมกระบวนการสร้างเสริมคุณธรรม  จริยธรรมการสร้างวินัย และจิตสาธารณะของคนในชุมชน

          2.2  ส่งเสริม  สนับสนุน อำนวยความสะดวกแก่การดำเนินงานด้านสวัสดิการสงเคราะห์เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ  คนพิการและผู้ด้อยโอกาสให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีสามารถพึ่งตนเองได้ รวมทั้งได้รับการช่วยเหลือและได้รับการบริการอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

          2.3  ส่งเสริมและสนับสนุนด้านการกีฬาและลานกีฬาหมู่บ้านเพื่อสุขภาพอนามัยที่ดีของประชาชนให้เด็กและเยาวชนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์  สนับสนุนให้มีการแข่งขันกีฬาเพื่อก่อให้เกิดความรัก ความสามัคคีและปลูกฝังค่านิยมที่ดีต่อการกีฬา

          2.4 ป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติดให้หมดไปจากพื้นที่ ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐ  เอกชนที่เกี่ยวข้อง  ร่วมกันป้องกันและแก้ปัญหาอย่างใกล้ชิดเสริมสร้างความเข้มแข็ง ความเข้าใจที่ถูกต้องให้แก่สถาบันครอบครัว

          2.5  ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาสังคมที่สอดคล้องกับทิศทางของการสร้าง  สุขภาวะแบบองค์รวม  และการสร้างสังคมที่อยู่ดี   มีสุข  มีความเป็นชุมชนน่าอยู่  ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน  การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยต่างๆที่อาจเกิดขึ้นทุกเวลา

 3. นโยบายการพัฒนาการศึกษา  ศาสนา  ศิลปะ วัฒนธรรม

          การส่งเสริมและสนับสนุนด้านการปฏิรูปการศึกษาเจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542  เพื่อพัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งความรู้   อันเป็นเงื่อนไขไปสู่ระบบเศรษฐกิจฐานความรู้  ให้ประชาชนทั้งปวงได้รับโอกาสเท่าเทียมกันจะที่จะเรียนรู้และฝึกอบรมได้ตลอดชีวิต   และมีปัญญาเป็นทุนไว้สร้างงานและสร้างรายได้  และนำพาท้องถิ่นให้รอดพ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจและสังคม  โดยยึดหลักการศึกษาสร้างชาติ  สร้างคน  และสร้างงาน  ตลอดจนการส่งเสริม  สนับสนุนด้านการศาสนา  ศิลปวัฒนธรรม  ให้เกิดความรู้  คู่คุณธรรม  ภูมิปัญญาท้องถิ่น  ศิลปะและวัฒนธรรม ของท้องถิ่น  ดังนี้

           3.1  สนับสนุนและส่งเสริมพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียนให้ได้ตามมาตรฐาน   เน้นคุณภาพ  ประสิทธิภาพและความเที่ยงธรรมในการบริหารจัดการศึกษาทุกประเภท

          3.2  ส่งเสริมและสนับสนุนด้านการศึกษาที่ทันสมัย  ทันโลกทันเหตุการณ์

          3.3  สนับสนุน  ส่งเสริมรักษาขนบธรรมเนียมประเพณี  ศิลปะและวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น พัฒนาแหล่งวัฒนธรรม  ศิลปวัตถุ  และโบราณสถาน  ให้เป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งรายได้ของประชาชนในพื้นที่

 4.  นโยบายพัฒนาสาธารณสุขและส่งเสริมคุณภาพชีวิต

          การสร้างภูมิคุ้มกันทางด้านสุขภาพ ตามแนวทางของกฎหมายสุขภาพแห่งชาติ ช่วยรณรงค์ให้เกิดการพัฒนาและปรับเปลี่ยนคุณพฤติกรรมทางด้านสุขภาพอนามัย  เพื่อสร้างเสริมสุขภาพและลดปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อสุขภาพ  ดังนี้

          4.1 เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนให้ประชาชนมีสุขภาพอนามัยสมบูรณ์ แข็งแรง และมีสุขภาพจิตที่ดี การดูแลรักษาสุขภาพอนามัยของประชาชนโดยประชาชนเพื่อประชาชน

          4.2 ส่งเสริมการดำเนินกิจกรรมด้านการสร้างเสริมสุขภาพของประชาชน และการบริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐาน  ผู้รับบริการสามารถเข้าถึงได้อย่างสะดวก รวดเร็ว เป็นธรรม

          4.3 สนับสนุนการควบคุมป้องกันการเผยแพร่ระบาดของโรคติดต่อ  และโรคไม่ติดต่อ  ที่อันตรายต่อคนและสัตว์ โดยการสร้างขีดความสามารถในการเฝ้าระวัง ป้องกัน  ควบคุมและดูแลรักษาอย่างเป็นระบบเชื่อมโยงกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

          4.4 ส่งเสริมสนับสนุนงานสุขภาพอนามัย และการจัดการสุขภาวะภาคประชาชน โดยผ่านกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)

          4.5 ส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมที่สอดคล้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค

 5.นโยบายพัฒนาทางเศรษฐกิจ

          ใน สภาวการณ์ปัจจุบัน ซึ่งเกิดความถดถอยทางเศรษฐกิจ การส่งเสริม การพัฒนาทางเศรษฐกิจภายในท้องถิ่นเป็นการสนับสนุนและเพิ่มศักยภาพของกลุ่มให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน ดังนี้ 

          5.1 สนับสนุน ส่งเสริมกลุ่มอาชีพให้เติบโตและเข้มแข็งเพื่อพัฒนาศักยภาพของกลุ่มให้มีความ เข้มแข็งอย่างยั่งยืน พัฒนาอาชีพที่เหมาะสมกับสภาวะแวดล้อมของท้องถิ่นและกระตุ้นให้เกิดการพัฒนา กระบวนการสร้างระบบเศรษฐกิจชุมชน ขยายเครือข่าย 

          5.2 สนับสนุน ส่งเสริมด้านการเกษตร กระบวนการเรียนรู้ภาคการเกษตร อุตสาหกรรม การเกษตร ควบคู่กับการรักษาสิ่งแวดล้อม โดยการใช้เกษตรอินทรีย์

          5.3 สร้างรายได้และลดรายจ่ายในครัวเรือน ส่งเสริม สนับสนุน ขยายเครือข่าย เพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการในพื้นที่

          5.4 ส่งเสริมกิจกรรมที่สอดคล้องตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

 6.นโยบายด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

          พัฒนา โครงสร้างและสภาพแวดล้อมของตำบลเพื่อส่งเสริมศักยภาพเศรษฐกิจและการพัฒนา คุณภาพชีวิตของประชาชน และเป็นการวางรากฐานการพัฒนาอย่างยั่งยืน  โดยมุ่งเน้นการเป็นศูนย์กลางในการให้บริการ ดังนี้

          6.1 พัฒนาระบบการ ก่อสร้าง ปรับปรุง บำรุงรักษาสาธารณูปโภคต่างๆ การขยายเขตไฟฟ้าและติดตั้งไฟฟ้าสาธารณะ ให้ทั่วถึงทุกพื้นที่ ประชาชนมีไฟฟ้าในครัวเรือนใช้ตามความเหมาะสม

          6.2 เสริมสร้างมาตรการในการป้องกัน และแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังในชุมชน ให้มีและบำรุงทางระบายน้ำ โดยการก่อสร้างและปรับปรุงท่อระบายน้ำ รางระบายน้ำ รวมถึงระบบระบายน้ำเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังอย่างเป็นระบบ

          6.3 ส่งเสริมการพัฒนาแหล่งน้ำสำหรับประชาชนได้อุปโภค  บริโภค โดยการพัฒนาแหล่งน้ำที่มีอยู่เดิมให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่าและจัดหาแหล่งน้ำใหม่ตามความเหมาะสม

 7.นโยบายด้านการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

          จัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เป็นปัจจัยเกื้อหนุนในการดำรงชีวิตเพื่อ เอื้ออำนวยต่อความสมดุลของระบบนิเวศวิทยา เพื่อยกระดับคุณภาพและสนับสนุนการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และเพื่อเป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน ดังนี้

         7.1 รณรงค์ ส่งเสริมการสร้างจิตสำนึกสาธารณะทางด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแก่ประชาชน และชุมชน

         7.2 สนับสนุน ส่งเสริมให้ชุมชนมุ่งรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของชุมชน และสถานที่ต่างๆในตำบลให้เป็นเมืองน่าอยู่

         7.3 ส่งเสริมสนับสนุนการเฝ้าระวัง และการมีส่วนร่วมของชุมชนในการควบคุมและกำจัดมลภาวะที่มีผลต่อสุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิตของประชาชน

        7.4ส่งเสริมสนับสนุนกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ขับเคลื่อนการจัดทำโครงการ และการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่มุ่งไปสู่การลดสภาวะโลกร้อน

                               สำหรับนโยบายเร่งด่วนที่จะดำเนินการในช่วงปีแรก

         1.ปรับปรุงพัฒนาระบบไฟฟ้าแสงสว่างสองข้างทาง ให้สอดคล้องกับ ความจำเป็นในการดำรงชีวิต

         2. ปรับปรุงและพัฒนาการบริการด้านสาธารณสุขให้กับประชาชนอย่างพอเพียงและมี ประสิทธิภาพเช่นให้บริการรถฉุกเฉิน    ตลอด ๒๔ ชั่วโมง เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการช่วยเหลือ  ชีวิตคนให้ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วและปลอดภัย

         3.ให้มีการจัดเก็บขยะมูลฝอย (ธนาคารขยะ) โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาวะทางสิ่งแวดล้อม

         4.ป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก และปัญหาขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรโดยการ ขุดลอกคูคลอง และทางระบายน้ำ อย่างต่อเนื่อง

         5.ปรับปรุงพัฒนาระบบน้ำประปาให้ดียิ่งขึ้น

                               แผนการดำเนินงานตามนโยบาย

         1.พัฒนาปรับปรุงงานบริการประชาชน

         2. สร้างชุมชนให้เข้มแข็ง

         3. การศึกษา การสาธารณสุข

         4. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

         5. ยึดแผนพัฒนาตำบลสามปีและแผนพัฒนาประจำปีเป็นหลักและอาจเปลี่ยน ตามความเหมาะสมสำหรับขั้นตอนการดำเนินงานให้เป็นไปตามความจำเป็นและความเดือดร้อนของ ประชาชนและสถานการณ์ปัจจุบัน

 

 

 

 

 


»ข้อมูลทั้งหมด 2 หน้า